การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร
?การสื่อสาร
คือ กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร
รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส
ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5.
ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า
การศึกษา เราหมายความถึงทั้ง
การเรียน การสอน ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง
กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา
เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น
(ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ
การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น /
การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น
เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต
มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่
พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้น การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน
เพราะว่า การเรียนการสอน
เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร
คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ
สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน
หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น
และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือ
การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน
พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ
ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ
ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ
มีทักษะในการสื่อสาร
และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม
นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์
มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์
กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ
บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์
ฯลฯ2. ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก
ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง
ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้
จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยายจ่ายแจก
ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย
จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ แต่คงจะมีมากกว่านี้อีก ยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจ ไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ
จากอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด หรือหนังสือต่างๆ ได้....วัสสลาม
ระบบการสื่อสารและการเรียนการสอน
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม
ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ
ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร
ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม
ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
โครงสร้างของระบบ
ทรัพยากร ขบวนการ ผลที่ได้รับ
(In put) (Process) (Out
put)
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน
จึงจะทำให้ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ
จะต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ที่ได้จากการประเมินผล
เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องทั้งสามส่วน
ระบบการสื่อสาร (Communication System)
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร
มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร
จุดมุ่งหมาย
ผู้ส่ง เนื้อหาข้อมูล สื่อ/วิธีการต่างๆ ผู้รับ
การตอบสนอง
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child
Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น
ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน
และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน
ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล
ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้
มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร
การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4
ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.
กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย
หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2.
การทดสอบก่อนการเรียน (Pre
Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน
ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
3.
ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน
มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
|
|
|
|
วิธีสอนและกิจกรรม
|
|
|
เนื้อหา
|
|
|
|
ระยะเวลา
|
|
|
|
|
ทดสอบก่อนเรียน
|
|
ผู้เรียน
|
|
ทดสอบหลังเรียน
|
จุดมุ่งหมาย
|
|
|
|
สถานที่/สภาพแวดล้อม
|
|
|
|
|
|
|
สื่อการเรียนการสอน
|
|
|
4.
การทดสอบหลังการเรียน (Post
Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
แผนผังระบบการเรียนการสอน
แผนผังแสดงการออกแบบการสอน
|
|
จุดมุ่งหมายการสอน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วิเคราะห์เนื้อหาบทเรียน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ออกแบบกลยุทธ์
|
|
|
|
|
การเรียนการสอน โดยคำนึงถึงกิจกรรม
|
|
|
|
|
วิธีสอน จำนวนผู้เรียน
|
|
|
|
|
เวลาเรียน สภาพแวดล้อม
|
|
|
|
|
ฯลฯ
|
|
|
|
|
|
|
|
ทรัพยากรท้องถิ่น
|
|
การออกแบบสื่อการสอน
|
|
จิตวิทยาการเรียนรู้
|
|
|
|
|
|
|
|
การผลิตสื่อโสตทัศน์
|
|
|
บทนำ
นโยบายภาครัฐโดยเฉพาะด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน
( นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ) ที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554
โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาตินั้น
เป็นนโยบายที่มีความสำคัญยิ่ง โดยรัฐบาลได้กำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจนเพื่อเร่งพัฒนาการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้
โดยเน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้
ตลอดชีพพัฒนาเครือข่ายและพัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม
( Cyber Home )” ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
( Tablet ) ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้ กว้างขวาง
ปรับปรุงห้องเรียนเพื่อให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งเร่งดำเนินการให้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสามารถดำเนินการได้ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่
าแนวนโยบายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นปัจจัยและเป็นมิติสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาให้ก้าวสู่ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของสังคมโดยรวมและจะเป็นมิติของการสร้างกระบวนทัศน์เพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญภายใต้การศึกษาในยุคปฏิรูปในทศวรรษที่สองในปัจจุบัน
ในขณะเดียวกันกับแนวนโยบายของการจัดการศึกษาโดยภาครัฐที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น “แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ( Tablet for Education )”จึงกลายเป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้
ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันในยุคสังคมสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ซึ่งแนวนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นที่จะใช้สื่อแท็บเล็ตให้ผู้ เรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่
โดยที่นโยบายของการปฏิบัติกับนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One TabletPC Per
Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนประมาณ
539,466 คนเป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนาสื่อแท็บเล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตามการที่จะนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีอะไรมาใช้ กับกลุ่มคนในปริมาณหรือจ
านวนมากนั้นย่อมมีประเด็นสำคัญหลากหลายที่บังเกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและลบ
ซึ่งจะเป็นทรรศนะหรือเป็นมุมมองหรือผลจากการศึกษาวิจัยที่มีต่อสื่อนวัตกรรมที่นำมาใช้ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงแท็บเล็ตเพื่อการศึกษานั่นเองบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอในเชิงสาระ
(Contents ) ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
เล็ตทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้า ง คว า ม
รู้ เ บื้ อง ต้ นต่ อก า ร สร้ า ง เ ป็ นก ร อบแน ว คิ ดที่ จ ะน า ไ ปสู่ กา ร
ปฏิ บั ติ ใ ห้ บั ง เ กิ
ดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุก
ฝ่ายทั้งผู้ บริหาร ครูอาจารย์
ศึกษานิเทศก์ และนักเรียนที่ต้องมี ความรู้
ทักษะและสร้างความพร้อมในกรอบ
แนวคิดให้ตรงกันที่จะน
าไปสู่การปฏิบัติร่วมกันได้อย่างลงตัวและเหมาะสม
ความหมายของแท็บ
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิ วเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่ าคอมพิ วเตอร์โน้ตบุ๊
คพกพาง่าย น้ าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว
หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุน
จอได้อัตโนมัติ
แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่ าคอมพิ วเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิ บั ติการมีทั้งที่เป็น Android IOSและ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น
Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G
อาจสรุปในความหมายที่แท้จริงของแท็บเล็ตหรือคอมพิ
วเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้
บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วใ
นอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพั ฒนาคอมพิ วเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่
ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้ค านิยามหรือการเรียกชื่ อที่แตกต่างกันออกไปเช่ น
แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากค
าว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet
)
แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer ) คือเครื่องคอมพิ
วเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการท างาน ออกแบบให้สามารถท
างานได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งเป็นแนวคิด
ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ภายหลังจากทาง Microsoft ได้ท
าการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี
2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนักแท็บเล็ตพีซี
( Tablet PC ) ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops
ตรงที่จะไม่มีแป้นพิ มพ์ ในการใช้งาน
แต่จะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน Tablet PC จะมีอุ
ปกรณ์ไร้สายส าหรับการเชื่ อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
มีระบบปฏิบัติการทั้งที่เป็น Windows และ Androidภาพ HP Compaq Tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows
แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่ อสั้นๆว่ า
“แท็บเล็ต” คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นลำดับแรกมีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดและมีความหมายครอบคลุมไปถึงโน๊ตบุ๊คแบบ
Convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผั สและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์เสมือนจริงติดมาด้วยแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์
( Tablet Computer หรือ Tablet ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะถูกผลิตขึ้นมาโดยบริษัทที่เป็นยักษ์ใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ
Apple ซึ่งเป็นผู้ผลิต “ไอแพด ( iPad
)” ขึ้นมาและเรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น “แท็บเล็ต
( Tablet )”
นอกจากบริษัท Apple ซึ่งเป็นค่ายยักษ์ใหญ่ของการผลิตแท็บเล็ตประเภท iPad
จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้วปัจจุบันแท็บเล็ต ( Tablet
PC ) ได้ผลิตขึ้นมาในหลากหลายบริษัทสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งมีรูปแบบและมีศักยภาพในการปรับใช้ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ความต้องการของผู้ใช้
เช่นบริษัท Samsung , ASUS , Black Berry , Toshiba เหล่านี้เป็นต้นเหตุผลสำคัญที่แท็บเล็ต
( Tablet PC ) กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้เนื่องมาจากคุณประโยชน์อันหลากหลายและรูปแบบที่ทันสมัยพกพาได้สะดวกสบาย
ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่นใช้ต่ออินเทอร์เน็ตได้ ถ่ายรูปได้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้
ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( e-Book ) ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อชนิดนี้เป็นสำคัญ
ความแตกต่างระหว่าง Tablet PC กับ Tablet Computer
เริ่มแรก Tablet PC จะใช้ หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้ สถาปัตยกรรม
x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือOS
ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer : PC มาทำให้สามารถใช้จากการสัมผัสทางหน้าจอในการทำงานได้และใช้ระบบปฏิบัติการWindows
7 หรือ Linux
ต่อมาในปี 2010
ได้มีการพัฒนาแท็บเล็ตที่แตกต่างจากแท็บเล็ตพีซี ( Tablet
PC ) ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับระบบปฏิบัติการเดิม
แต่ได้พัฒนาปรับใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ( MobileTelephone
) ได้แก่ iOS และ Android แทนนั่นก็คือ “แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet
Computer )” หรือที่เรียกสั้นๆว่ า “แท็บเล็ต
( Tablet )” ในปัจจุบันนั่นเอง ปัจจุบันบริษัทแอปเปิล ( Apple
) ได้ผลิต iPad ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่
( Tablet ) ซึ่งมีโครงสร้างรูปลักษณ์เป็นแผ่นบางๆขนาด 9 นิ้ว
ไม่มีแป้นคีย์บอร์ด( Keyboard ) ไม่มีเม้าส์ ( Mouse
) สามารถสั่งงานด้วยระบบการใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพ ( Touch
Screen ) หรือจะใช้ การป้อนข้อมูลด้วยคีย์บอร์ดที่แสดงบนจอภาพได้มีน้าหนักเบาเพียง
700 กรัม หรือประมาณ 1 ใน3 ของโน๊ตบุ๊คทั่วไปสามารถปิดเปิดได้ทันทีโดยกดปุ่มเดียวใช้งานได้ต่อเนื่องนานกว่
า 10 ชั่วโมงใช้ระบบปฏิบัติการเฟริ์มแวร์ หรือ iOS
ความเป็นมาและร่องรอยทางประวัตศาสตร์ของแท็บเล็ต
จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ค้นพบของการใช้เทคโทโลยีประเภท
แท็บเล็ต ( Tablet ) นั้นมีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันว่
าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึง(
Wax ) บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2 ด้านใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล
หรือการพิมพ์ ภาพซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ( Cicero )ชาวโรมัน ( Roman ) เกี่ยวกับลักษณะของการใช้เทคนิคดังกล่าวนี้จะมีชื่อเรียกว่า
“Cerae” ที่ใช้ในการพิมพ์ภาพบนฝาผนังที่วินโดแลนดา ( Vindolanda
) บนฝานังที่ชื่อผนังฮาเดรียน ( Hadrian’s Wall )หลักฐานชิ้นอื่นๆที่ปรากฏจากการใช้แท็บเล็ตยุคโบราณที่เรียกว่ า Wax
Tablet ปรากฏในงานเขียนบทกวีของชาวกรีก ( Greek )ชื่อโฮเมอร์ ( Homer ) ซึ่งเป็นบทกวีที่ถูกนำไปอ้
างอิ งไว้ในนิยายปรัมปราของชาวกรีกที่ชื่อว่า Bellerophon โดยแสดงให้เห็นจากการเขียนอักษรกรีกโบราณจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่บ่งบอกถึงแนวคิดการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตโบราณในลักษณะของการบันทึกเนื้อหาลงในวั
สดุอุปกรณ์ในยุคประวัติศาสตร์ คือ ภาพแผ่นหินแกะสลักลายนูนต่าที่ขุดค้นพบในดินแดนแถบตะวันออกกลางที่อยู่ระหว่
างรอยต่อของซีเรียและปาเลสไตน์เป็นหลักฐานสำคัญที่สันนิษฐานว่
าจะมีอายุราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 640-615 ทั้งนี้บริเวณที่ขุดค้นพบจะอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังโบราณที่Nineveh ของ Iraq นอกจากนี้ยังได้พบอุปกรณ์ของการเขียน
Wax Tablet โบราณของชาวโรมันที่เป็นลักษณะคล้ายแท่งปากกาที่ทำจากงานช้าง ( Ivory ) ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการและแนวคิดการบันทึกข้อมูลในลักษณะของการใช้
Tablet ในปัจจุบัน
สำหรับหลักฐานการใช้ Wax Tablet ยุคต่อมาช่วงยุคกลาง ( Medieval ) ที่พบคือการบันทึกเป็นหนังสือโดยบาทหลวง
Tournai ( ค.ศ. 1095-1147 )ชาวออสเตรีย ( Austria ) เป็นการบันทึกบนแผ่นไม้ 10แผ่น ขนาด 375x207
mm. อธิบายเกี่ยวกับสภาพการถูกกดขี่ของทาสในยุคขุนนางสมัยกลางWax
Tablet เป็นกรรมวิธีที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลหรือสิ่งสำคัญต่างๆในเชิงการค้าและพาณิชย์ของพ่อค้าแถบยุโรป
จนล่วงมาถึงยุคศตวรรษที่ 19
จึงหมดความนิยมลงไปเนื่องจากมีการพัฒนาเทคนิคการบันทึกข้อมูลรูปแบบใหม่และทันสมัยขึ้นมาใช้
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : ศักยภาพและการปรับใช้
ในสังคมยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
( Learning Society ) ในปัจจุบันนั้นสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากต่อการนำมาใช้
ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนในสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท
“คอมพิ วเตอร์ ( Computer )”จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าว
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการแจกแท็บเล็ตเพื่อเด็กนักเรียนในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นให้กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ตามโครงการ One TabletPC Per Child ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่แถลงไว้นั้น
เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
( นายวรวัจน์ เอื้ออภิญกุล ) ได้กล่าวไว้ว่าการจัดหา เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนโดยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการใช้
การบริหารและในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการตามที่กล่าวในเบื้องต้นเป็นแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ของนักเรียนในรูปแบบใหม่โดยการใช้แท็บเล็ต
( Tablet )เป็นเครื่ องมือในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
และแสวงหาองค์ความรู้ ในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ ในรูปแบบทั้ง Offlineและ Online ท าให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้
ฝึกปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ต่างๆได้ด้วยตัวเองซึ่งการจัดการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ
ส่วนในประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนทั้งประถมศึกษามัธยมศึกษา
และอุดมศึกษาในบางแห่งเท่านั้นประเด็นที่กล่าวถึงนี้อาจสรุปได้ว่าศักยภาพของสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาประเภทคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
( Tablet PC )ที่เริ่ มมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ ใช้ในทุกระดับในสังคมสารสนเทศในปัจจุบันเนื่องจากในยุคแห่งสังคมออนไลน์หรือยุคเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นสื่อเทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ตเพื่อการศึกษานี้จะมีศักยภาพในการปรับใช้ค่อนข้างสูงและปรากฏชัดในหลากหลายปัจจัยที่สนับสนุนเหตุผลดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากสื่อแท็บเล็ต
( Tablet PC ) จะมีคุณลักษณะสำคัญดังนี้สนองต่อความเป็นเอกัตบุคคล
(Individualization ) เป็นสื่อที่สนองต่อความสามารถในการปรับตัวเข้ากับความต้องการทางการเรียนรู้ของรายบุคคลซึ่งความเป็นเอกัตภาพนั้นจะมีความต้องการในการติดตามช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ใช้
บรรลุผลและมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ตามที่เขาต้องการ เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
( Meaningful
Interactivity )
ปัจจุบันการเรียนรู้ที่กระบวนการเรียนต้องมีความกระตือรือร้นจากการใช้
ระบบข้อมูลสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวั นจากสภาพทางบริบทของสังคมโลกที่เป็นจริงบางครั้งต้องอาศัยการจำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ซึ่งสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้สื่อแท็บเล็ตจะมีศักยภาพสูงในการช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ได้
เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ ( Shared Experience ) สื่อแท็บเล็ตจะช่วยให้นักเรียนเกิดการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ซึ่งกันและกันจากช่องทางการสื่อสารเรียนรู้หลากหลายช่องทาง
เป็นลักษณะของการประยุกต์การเรียนรู้ร่วมกันของบุคลในการสื่อสารหรือสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ
มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจนและยืดหยุ่น ( Flexible and
Clear CourseDesign ) ในการเรียนรู้จากสื่อแท็บเล็ตนี้จะมีการออกแบบเนื้อหา
หรือหน่วยการเรียนรู้ที่เสริมสร้างหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนาทางสติปัญญาอารมณ์ความรู้สึก
ซึ่งการสร้างหน่วยการเรียนรู้ต้องอยู่บนพื้นฐานและหลักการที่สามารถปรับยืดหยุ่นได้ภายใต้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจนซึ่งตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้
ในเชิงเนื้อหาได้แก่การเรียนจาก e-Bookเป็นต้น
ให้การสะท้
อนผลต่อผู้เรียน/ผู้ใช้ได้ดี ( Learner
Reflection ) สื่อแท็บเล็ตดังกล่าวจะสามารถช่วยสะท้อนผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
และสามารถประเมินและประยุกต์เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สนองต่อคุณภาพด้านข้อมูลสารสนเทศ
( Quality Information ) เนื่องจากสื่อดังกล่าวจะมี
ประสิทธิภาพค่อนข้างสูงต่อผู้เรียนหรือผู้ใช้
ในการเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนถูกต้องในการกำหนดมโนทัศน์ที่ดี
อย่างไรก็ตามการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Quality ) ย่อมต้องอาศัยข้อมูลในเชิงปริมาณ
( Quantity ) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีการจัดเก็บรวบรวมไว้ให้เพียงพอและถูกต้องสมบูรณ์
ได้มีบทสรุปจากการศึกษาวิจัยของ Becta ICT Research ซึ่งได้ศึกษาผลการใช้แท็บเล็ตพีซีประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาจ
านวน 12 โรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงระหว่างค.ศ. 2004-2005 ซึ่งมีผลการศึกษาส
าคัญหลายประการที่ควรพิจารณาและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้กับบริบทด้านการศึกษาของไทยโดยสามารถสรุปผลลัพธ์สำคัญจากการศึกษาดังกล่าวได้
ดังนี้ การใช้ แท็บเล็ต ( Tablet PC ) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง
เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิผลโดยพบว่ าการใช้
แท็บเล็ตพีซีช่วยเพิ่มแรงจูงใจของผู้ เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียนรวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและการเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวางรวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียนสำหรับในด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่าการใช้
แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้นอย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย ( Wireless
Network ) และเครื่องฉายภาพแบบไร้สาย( Wireless Data
Projector )ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งควรจั
ดให้มีการวางแผนจัดหาทรัพยากรมาสนับสนุนอย่างเป็นระบบซึ่งท้ายที่สุดจะพบว่าการใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นจะสามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายและมีความคุ้มค่ามากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ทอป
( Desktop ) และคอมพิวเตอร์แล็บทอป ( Laptop ) ประกอบการเรียนการสอนที่มีใช้งานกันอยู่ในสถานศึกษาโดยทั่วไป
สำหรับในประเทศไทยนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้มอบให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทาการศึกษาวิจัยรูปแบบการใช้แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอน
ทั้งนี้เพื่อเตรียมการสำหรับการประกาศใช้จริงในปีการศึกษา 2555 นี้
ผลสรุปจากการวิจัยยังไม่เกิดขึ้นในช่วงนี้แต่อย่างไรก็ตามก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในหลากหลายมุมมองทั้งในเชิงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ซึ่งก็คงต้องติดตามดูผลการนำไปใช้จริงกับผู้เรียนและครูตามจำนวนและตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำแท็บเล็ตไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำเอาสื่อเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาประเภทคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตไปใช้ในการเรียนการสอนนั้นมีประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายน่าจะนำมาร่วมวิเคราะห์และพิจารณาร่วมกันดังนี้
1.
ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
2.
ครูผู้สอนยังไม่มีความรู้เพียงพอต่อการใช้อุปกรณ์ Tablet
เพื่อการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียน
(บางคน)มีความพร้อมที่จะเรียน
3.
ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
4. ด้านการบำรุงรักษาการแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งานจะมีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
5. อุปกรณ์ Tablet เปลี่ยนรุ่นเร็วมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น
Tablet ที่จัดหามานั้นมีความเป็นมาตรฐานรองรับกับ Applications
มากน้อยเพียงใด
6. ทำไมต้องจำกัดไม่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
(อินเทอร์เน็ต) ได้อย่างอิสระ
มีข้อเสนอแนะจากบทสรุปที่ได้มีการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศ
ที่เสนอแนะไว้ ต่อการนำสื่อเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น
มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. มีการจัดโ
ครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้
งานทั้งในด้านสถานที่ จุดที่ตั้งที่สามารถใช้งานกับเครือข่ายไร้สายโครงข่ายและแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ
สามารถใช้งานได้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
2.
การพัฒนาบุคลากรมีการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้แท็บเล็ตโดยเฉพาะครูผู้สอนเพื่อลดความกังวลในการใช้งานให้มีทักษะความรู้และเชี่ยวชาญในซอร์ฟแวร์สนับสนุนต่างๆ
รวมทั้งมีความสามรรถและชำนาญในการเข้าถึงระบบเครือข่าย ( LAN ) ของสถานศึกษา
3.
การเสริมสร้างความมั่นใจของผู้สอนโดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมทั้งมีการแบ่งปันทรัพยากรที่เอื้อต่อการพัฒนาหรือใช้งานตลอดจนมีการยกย่องชมเชยผู้สอนต้นแบบ
( Champion )
4. การจัดการด้านความปลอดภัยต่อการใช้งาน
โดยโรงเรียนหลายแห่งที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจากการวิจัยดังกล่าว
ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนในการแจกจ่ายแท็บเล็ตพีซีให้กับผู้เรียนสามารถติดตามการจัดเก็บการใช้งานและการบำรุงรักษาได้นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญในรายละเอียดบางอย่างที่ต้องคำนึงถึง
อาทิเช่นพื้นที่และความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลที่ผู้เรียนได้บันทึกไว้
5.
ความสามารถในการใช้งานอย่างต่อเนื่องของแท็บเล็ตพีซี ซึ่งก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประเด็นหนึ่งเพื่อให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยสถานศึกษาควรพิจารณาความเหมาะสมในการจัดให้มีผู้ช่วยเหลือในห้องเรียนเพื่อคอยแก้ไขปัญหาทางเทคนิคจัดให้มีหน่วยสนับสนุนที่มีความพร้อมทั้งในด้านการซ่อมบำรุง
การมีอุปกรณ์สำรองและการแก้ปัญหาอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเสถียรภาพของเครือข่ายในการใช้งาน
6. เวลาที่เพียงพอต่อการจัดเตรียมเนื้อหาสาระของผู้สอน
ผู้สอนต้องมีเวลาเพียงพอต่อการเตรียมบทเรียน สื่ อการสอน แบบทดสอบที่ใช้
งานร่วมกับแท็บเล็ตพีซี รวมทั้งการจัดให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการปรับแต่งแท็บเล็ตพีซีให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน
7. การจั ดระบบที่มีประสิทธิภาพให้ผู้เรียนสามารถจัดเก็บและนำส่งผลงานของตนเองโดยพิจารณาถึงการจัดเก็บและการนำส่งผลงานผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
รวมทั้งการจัดเก็บและนำส่งด้วย Flash-drive ในกรณีที่เครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้
8. ประสิทธิภาพในเชิงกายภาพของตัวสื่อและสภาพแวดล้อม
โดยเฉพาะความกว้างและความสว่างของหน้าจอแท็บเล็ตพี ซีรวมทั้งความสว่างและระบบแสงที่เหมาะสมของห้องเรียนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้ามเนื่องจากส่งผลต่อความสนใจและแรงจูงใจของผู้เรียน
9. ควรเริ่มใช้กับกลุ่มทดลองนำร่องก่อน
( Pilot Project )ข้อเสนอแนะที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือควรให้มีการเริ่มใช้งานกับกลุ่มผู้เรียนและผู้สอนในบางกลุ่มก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เริ่มจากกลุ่มที่มีประสบการณ์และมีแนวโน้มว่าจะสร้างให้เกิดความสำเร็จก่อนเพื่อให้เป็นแกนนำในการแบ่งปันประโยชน์และประสบการณ์ในเชิงบวกและขยายผลไปยังกลุ่มอื่นๆต่อไป
10.
สร้างแรงกระตุ้นและแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพ โดยการกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างแนวทางหรือสร้างนวัตกรรมการ
ใช้งานของตนเอง ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่จะสร้างให้การเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตพีซีเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้บังเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
Computer Literacy : องค์ประกอบส
าคัญสู่ความส าเร็จ
คำว่ า Computer
Literacy เกิดขึ้นมาพร้อมกับการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการต่างๆโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมการศึกษาของเราตื่นตัวต่อการใช้
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และบทบาทของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากคอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการการศึกษาในทุกๆ
ระดับและนับวันจะมีบทบาทต่อการเรียนการสอนมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และคำถามสำคัญที่ต้องการคำตอบก็คือในฐานะครูควรต้องมี
ความรู้ ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์อย่างน้อยในระดับใดเพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น Computer Literacy จึงน่าจะเป็นคำตอบในประเด็นสำคัญดังกล่าวนี้ได้
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่ า Computer Literacy หมายถึงสมรรถนะหรือความสามารในการใช้
คอมพิวเตอร์
ในระดับต่างๆ สำหรับสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ของครูผู้สอนต่อการจัดการเรียนรู้นั้น
MECC ( Minnesota Educational Computing Consortium ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
ได้ทำการศึกษาถึงความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานที่ครูทั่วไปควรที่ต้องมีว่าต้องครอบคลุม
3 ประเด็นหลักคือ
1. เข้าใจระบบการท างานของคอมพิวเตอร์
2. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้
3. น
าความรู้และทักษะมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้
ทั้งนี้จากองค์ความรู้ใน 3
ประเด็นหลักนั้นสามารถแยกออกเป็นความรู้และทักษะย่อย ดังนี้
1.
สามารถที่จะอ่านและเขียนโปรแกรมพื้นฐานได้
2.
มีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมการใช้งาน ( Application
Software ) เพื่อการศึกษา
3. สามารถที่จะเข้าใจคำศัพท์เฉพาะด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ
Hardware
4. สามารถรู้ปัญหาและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอันเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นด้าน
Software และ Hardware
5.
สามารถจะอธิบายถึงผลกระทบของคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นต่อสังคมทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
6. มีความคุ้นเคยกับการใช้งาน Software ประเภทต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง
7.
สามารถที่จะประมวลความรู้ต่างๆด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
8. มีความรู้ด้าน CMI ( Computer-Managed Instruction ) ด้าน CAI
( Computer-Assisted Instruction ) และการใช้บทเรียนในรูปแบบต่างๆเพื่อการเรียนการสอน
9. สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ ( Specification ) เพื่อการจัดหาชุดไมโครคอมพิวเตอร์ได้
10.
มีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงระบบคอมพิวเตอร์เช่นเครื่อง Printer , Scanner เป็นต้น
11. มีความสามารถที่จะประเมิน Software ทางการศึกษาได้
12.
รู้แหล่งที่จะติดต่อเพื่อการขอความร่วมมือหรือเพื่อการจัดหา Software ทางการศึกษา
คว
ามรู้ทักษะและความสามารถพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานที่ครูควรมีในกา รใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวไว้ซึ่งก็คงหมายรวมถึงคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต(
Tablet )เพื่อการศึกษาด้วยเช่นกันจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องมีทักษะดังกล่าวในแต่ละระดับที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสมรรถนะ
ทางคอมพิวเตอร์หรือ Computer Literacy ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณประโยชน์สู
งสุดในการจัดการ
เรี ยนรู้ ส าหรั บผู้ เ รี ยนกลุ่
มต่ างๆ ดั งนั้ นจึ ง เ ป็ นประเ ด็ นที่ ส าคั ญมี ความจ าเ ป็ นอย่ างยิ่ งที่
ครู ทุ กคนต้ องสร้ าง
สมรรถนะทางคอมพิวเตอร์หรือ Computer Literacy ให้เกิดขึ้นในช่องทางการสร้างองค์ความรู้ในหลากหลาย
รูปแบบทั้งการศึกษาเรียนรู้
การฝึกอบรม การทดลองปฏิ บัติ หรือการศึกษาวิ จัย ทั้งนี้เพื่ อน าไปสู่ผลส
าเร็จของ
การสร้าง Computer Literacy ดังกล่าวให้เกิดกับทั้งผู้เรียนและผู้สอนต่อไป
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์
เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม
4 ด้าน คือ
ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา
ค้นคว้า ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม
รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม ผลกระทบประการ
สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด
การตัดสินใจ และประหยัดเวลา
เมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล
ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ
สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน
เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้น
2.1
บทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ
(ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร
เลาหจรัสแสง, 2542)
1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา
สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น
"การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ
การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส
ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง
รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่ง
ข้อมูลของโลก
ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ
และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย
2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน
ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น
จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต
ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง
อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ
สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ
ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม
หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล
และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์
ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล
(Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ
นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม
3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ
เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี
สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป
คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์
4) บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of
Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น
การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของ
ตนเองต่อโลกได้ง่าย
พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform
Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก
ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว
(Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion
Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น
รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไป
2.2
ความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา
ความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการศึกษา
มีปัจจัยหลายประการ คือ
1) ขาดความเข้าใจและความสมเหตุสมผลในการใช้ เช่น
หน่วยงานจัดซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเกินกว่างานที่จำเป็นมาใช้หรือซื้อเครื่องใหม่มาแทนเครื่องเดิม
แม้ว่าเครื่องเดิมยังใช้งานได้ แต่ซื้อด้วยเหตุผลคือต้องการเครื่องที่ทันสมัย
ดังนั้นการมีคอมพิวเตอร์ใช้ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งจำนวนและประสิทธิภาพ
2) ขาดความรู้ในการใช้งาน เช่น บุคลากรในสถานศึกษาขาดความรู้ในการใช้งาน
ไม่กล้าใช้
สถานศึกษาควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการใช้งานให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา
3) ขาดการบำรุงรักษา เช่น
ไม่บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หรือไม่ได้ตั้ง งบประมาณบำรุงรักษา
จึงควรตรวจสภาพเครื่องให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาเพื่อความคุ้มทุน
4) ขาดการพัฒนารูปแบบการใช้งานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น
การพัฒนาฐานข้อมูล การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนต่อการพัฒนา
5) ขาดการยอมรับจากผู้บริหารหรือผู้ร่วมงาน เช่น
เมื่อหน่วยงานนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมาใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
และไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นเพราะกลัวตกงาน
2.3
คุณธรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (http://www.ku.ac.th/magazine_online/law_rule.html
ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2545)
สังคมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อประโยชน์การศึกษาโดยเฉพาะ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสังคมใหม่ (New Society) ภายใต้สังคมที่มีการติดต่อสื่อสาร ดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ
ร่วมกันบนพื้นฐานของคำว่าเสมือนจริง (Virtual) และออนไลน์หลายอย่าง
จินตนาการการดำเนินร่วมกันก่อให้เกิดองค์กรเสมือนจริง (Virtual Corporate) การสร้าง
กิจกรรมการทำงานหลายอย่างที่ต้องใช้วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เช่น Virtual
Classroom, Virtual Campus, Virtual Mall ฯลฯ เมื่อมีสังคมใหม่
ปัญหาหลายอย่างทางด้านสังคมก็ตามมา
โดยเฉพาะมีผู้แปลกปลอม
ผู้มองผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก
ตลอดจนผู้ประพฤติมิชอบหลายรูปแบบเกิดขึ้นบนเครือข่าย ตั้งแต่การเป็นแฮกเกอร์
การเป็นผู้ลักลอบใช้ทรัพยากรของผู้อื่น หรือก่อความวุ่นวาย ความไม่สงบสุขต่าง ๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางรัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาดูแลความสงบสุขด้วยการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้และมีบทลงโทษผู้กระทำผิด
ทั้งนี้เพราะกฎหมายเดิมอาจจะไม่ครอบคลุมกิจกรรมบางอย่างที่กระทำแบบเสมือนจริงบนเครือข่าย
เช่น กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายว่าด้วยเรื่องลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายว่าด้วยเรื่องอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยเรื่องข้อมูลข่าวสาร
ความเป็นส่วนตัว เป็นต้น
ความจริงแล้วกฎหมายอาจไม่จำเป็นต้องมีเลยก็ได้
การสร้างกฎระเบียบรวมถึงกฎหมายก็เพื่อที่จะควบคุมให้เกิดความสงบสุขและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่าง
ๆ ให้กับสังคม โดยเน้นให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมเป็นหลัก
การที่ผู้ใช้งานเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามที่ดี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
เอื้ออาทรต่อกัน
ไม่เอาเปรียบหรือคำนึงถึงผลประโยชน์ตนเองอย่างเดียวโดยไม่ดูคนรอบข้าง
การปฏิบัติตนที่ดีของนิสิตในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องเน้นที่คุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก
นิสิตจะช่วยให้สังคมเครือข่ายเป็นสังคมที่ดี
ต้องใช้หลักการพื้นฐานของสังคมและความเป็นอยู่ ทุกคนต้องการความสงบสุข
หลักปฏิบัติที่ดีอย่างหนึ่งคือ "หากตนเองไม่ต้องการหรือไม่พึงประสงค์เช่นไร
ก็อย่าปฏิบัติเยี่ยงนั้นกับผู้อื่น"
การดำเนินการบนเครือข่ายจะต้องคำนึงถึงผู้ที่ใช้งานร่วมอยู่ด้วย
และต้องแบ่งปันทรัพยากรบางอย่างที่จำกัดระหว่างกัน
หลักคุณธรรมและจริยธรรมที่ควรพิจารณา ประกอบด้วย
1) พึงยึดถือและปฏิบัติตนตาม กฎระเบียบของหน่วยงาน ผู้ดูแลเครือข่าย
เนื่องจากทรัพยากรเครือข่ายเป็นของที่ให้บริการร่วมกัน
ทุกเครือข่ายมีกฎระเบียบและข้อบังคับบางอย่าง
ดังนั้นพึงศึกษาและทำความเข้าใจกับกฎระเบียบและจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
2) อย่าดำเนินการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น
การอยู่ร่วมกันต้องเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน
โดยปกติแล้วผู้ใช้งานเครือข่ายจะมีสิทธิ์ของตนเองอยู่ เช่น การใช้บัญชีชื่อ
การใช้โควต้า การดำเนินงานต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์ของตนเองภายใต้สิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่เป็นการชอบธรรม
สิทธิเหล่านี้มีการ จัดสรรและแบ่งปันตามความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
3) ไม่พึงละเมิดหรือกระทำการใช้ทรัพยากรของส่วนรวมโดยถือสิทธิ์คิดว่าเป็นของตน
ทรัพยากรหลายอย่างเป็นของหน่วยงานหรือของส่วนรวม
การดำเนินการจึงมีลักษณะใช้ร่วมกัน
ทรัพยากรบางอย่างเป็นของหน่วยงานอย่างชัดเจนทั้งทางด้านกฎหมายและหลักปฏิบัติ ผู้ใช้เป็นเพียงผู้ขอใช้เท่านั้น
เช่น หมายเลขไอพีที่ใช้เป็นของหน่วยงาน
การนำหมายเลขไอพีไปจดทะเบียนชื่อเป็นอย่างอื่นโดยมิได้ขออนุญาตหน่วยงานถือว่าเป็นการขโมยทรัพย์สินหน่วยงานไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนตน
4) หลักปฏิบัติต่อผู้อื่น ในการดำเนินการรร่วมกัน การส่งข้อความระหว่างกันตั้งแต่เรื่องอีเมล์
Chat ICQ ตลอดจนเว็บบอร์ด
พึงระลึกเสมอว่าได้ปฏิบัติต่อผู้อื่น
ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติโดยสุภาพและเคารพซึ่งกันและกัน ข้อความบางอย่าง เช่น
ในเว็บบอร์ดอาจะกระทบสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นได้
โดยข้อความที่เขียนอาจจะเป็นการกล่าวหาหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนโดยไม่ลงชื่อจริง
แต่ว่ากล่าวทำให้ผู้อื่นเสียหายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง
5) หลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่อาจสร้างปัญหาให้กับส่วนรวม
การดำเนินงานบนเครือข่ายมีปัญหาได้หลายอย่างที่จะกระทบต่อส่วนรวม การส่งสแปมเมล์
การส่งอีเมล์ลูกโซ่
การส่งอีเมล์ขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากที่อาจจะทำให้ระบบโดยส่วนรวมทำงานช้าลง
การเอฟทีพีหรือ ดาวน์โหลดข้อมูลมากเกินความจำเป็น เป็นต้น
6) ช่วยดูแลและลดปัญหาให้กับส่วนรวม
ในปัจจุบันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไวรัสและเวิร์มบนเครือข่ายมีสูงมาก
ดังนั้นผู้ใช้พึงต้องระมัดระวังตนเองและติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาไวรัส
หมั่นตรวจสอบและสแกนหาไวรัส
เพราะหากตนเองติดไวรัสจะมีการส่งข้อมูลออกไปในเครือข่ายอีกเป็นจำนวนมาก
และสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นได้อีกด้วย
7) ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับผู้ดูแลระบบ
ผู้ใช้งานในระบบมีเป็นจำนวนมาก จึงยากที่จะดูแลได้ทั่วถึง
ขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาหากพบเห็นสิ่งผิดปกติใด ควรจะแจ้งให้กับ
ผู้ดูแลระบบทราบ การดำเนินการในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ
ผู้แอบอ้างใช้ระบบตลอดจน
ปัญหาแฮกเกอร์ ผู้ก่อกวนระบบ หากผู้ใช้งานช่วยเป็นหูเป็นตาสังเกตสิ่งผิดปกติก็จะช่วยได้อีกทางหนึ่ง
เช่น สังเกตดูว่ามีใครแอบอ้างใช้บัญชีรายชื่อของเราหรือไม่
ซึ่งสามารถตรวจสอบดูจากสถิติการใช้ของตนเองได้
สังคมชาวเครือข่ายอาจเป็นสังคมใหม่ แต่สังคมใหม่นี้เติบโตรวดเร็วมาก
มีผู้ใช้รวมกันหลายร้อยล้านคนและหากดูเฉพาะหน่วยงาน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่าสามหมื่น บัญชีชื่อในกลุ่มคนจำนวนมากย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นได้
แต่หากพวกเราช่วยกันก็จะทำให้การใช้ทรัพยากรที่จำกัดร่วมกันอย่างมีความสุขได้
สำหรับเครือข่าย NU Net (เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงของมหาวิทยาลัยนเรศวร)
จัดเตรียมเพื่อการแลกเปลี่ยนและใช้งานทรัพยากรข้อมูลร่วมกันเพื่อการบริหารและบริการการศึกษา
สนับสนุนกิจกรรมเชิงวิชาการ การเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย
รวมทั้งการบริการสังคมตามนโยบายมหาวิทยาลัย ทรัพยากรข้อมูลในระบบ NU Net มิได้จัดเตรียมไว้เพื่อการใช้งานในเชิงพาณิชย์ใด ๆ ทั้งสิ้น
ดังนั้นนิสิตในฐานะสมาชิกของมหาวิทยาลัยนเรศวรจะต้องใช้งานอย่างมีจริยธรรม
ควรใช้ทรัพยากรข้อมูลของระบบเครือข่าย NU Net อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับ
"ศักดิ์" และ "สิทธิ์" ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
ตัวอย่างของการใช้งานผิด จริยธรรม ได้แก่
1) การใช้งานที่ละเมิดต่อระบบความปลอดภัยของระบบ
2) การใช้งานโดยไม่ได้รับ Account หรือ
Username และ Password ซึ่งเป็นการแสดงสิทธิในการใช้งานไม่ถูกต้อง
3) การลักลอบใช้ Account หรือ Username
และ Password ของบุคคลอื่น ๆ
4) การใช้งานข้อมูล Multimedia หรือการสื่อสารข้อมูลซึ่งต้องอาศัย
Bandwidth หรือกินพื้นที่เส้นทางเดินข้อมูลสูง ๆ อย่างมาก (Overuse)
หรือตลอดเวลาแต่เพียงผู้เดียว
ขาดความเคารพในสิทธิการใช้งานของผู้อื่น
5) การใช้งานทรัพยากรข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะตนหรือเชิงพาณิชย์หรือเชิงใด
ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือแนวทางของมหาวิทยาลัย
6) การใช้งานทรัพยากรข้อมูลโดยขาดความซื่อสัตย์ต่อแวดวงวิชาการ
7) การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
8) การละเมิดกฎหรือข้อปฏิบัติในการใช้งานระบบเครือข่าย
9) การละเมิดสิทธิของผู้ใช้อื่น ๆ
หากนิสิตไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
(ดูคู่มือการใช้งานฯ ที่นิสิตได้รับแจก)
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นหรือต่อสมบัติของทางมหาวิทยาลัยจะต้องรับโทษตามบทลงโทษ
ต่อไปนี้
1) โทษขั้นต้น ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นเวลา
14 วัน
2) โทษขั้นกลาง
ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นเวลา 1 เดือน
3) โทษขั้นสูง
ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา
4) โทษขั้นร้ายแรง ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายตลอดไป
และหากการละเมิดฝ่าฝืน
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือต่อทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่าง ร้ายแรง
จะต้องรับโทษตามระเบียบมหาวิทยาลัยหรือรับโทษตามกฎหมายโดยลำดับต่อไป
ซึ่งมีผลให้นิสิตพ้นสภาพการเป็นนิสิต
ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดีย
มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
สื่อมัลติมีเดีย คือ
ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย
ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
สื่อมัลติมีเดีย คือ
การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ
ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง
ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีทัศน์ เป็นต้น
ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า
มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan. 1993)
สื่อมัลติมีเดีย คือ
โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสรร
ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว
(Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์
(Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive
Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด
(Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้
(Pointer) (Hall. 1996)
ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า
สื่อมัลติมีเดีย คือ
การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด
เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว
(Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า
สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive
Multimedia) การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด
(Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer)
เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม
รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ
เสียง วีดิทัศน์
จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ
และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะได้นำมาใช้ในการฝึกอบรมและให้ความบันเทิง
ส่วนในวงการศึกษามัลติมีเดียได้นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะแผ่นซีดีรอม
หรืออาจใช้ในลักษณะห้องปฏิบัติการมัลติมีเดียโดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษาในอนาคต
ทั้งนี้เพราะว่ามัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว
ดนตรี กราฟิก ภาพถ่ายวัสดุตีพิมพ์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
ประกอบกับสามารถที่จะจำลองภาพของการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแบบเชิงรุก
(Active Learining)
สื่อมัลติมีเดียเริ่มต้นในราว ๆ ต้นปี
พ.ศ. 2534 พร้อมๆ กับการใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องพีซี (PC) และเป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า กราฟิกยูซเซอร์อิเทอร์เฟท (Graphic
User Interface) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า GUI สำหรับ
GUI เป็นอินเทอร์เฟทที่สามารถแสดงได้ทั้งข้อความ (Text)
และกราฟิก (Graphic) ซึ่งง่ายต่อการใช้งานต่อมาในราว
ๆ ต้นปี พ.ศ.2535
บริษัทไมโครซอฟต์ด้พัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดียเวอร์ชั่น 1.0
ที่ใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0
ทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในเรื่องของภาพและเสียง
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมาตรฐานมัลติมีเดียที่เรียกว่า มาตรฐานเอ็มพีซี (MPC
: Multimedia Personal Computer) ซึ่งมาตรฐานนี้จะเป็นสิ่งกำหนดระบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียวที่เล่นบนระบบ
ปฏิบัติการวินโดวส์
การเริ่มนำเอาวินโดวส์ 3.1 เข้ามาแทนวินโดวส์ 3.0 ในราว
ๆ ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2536 ทำให้การใช้มัลติมีเดียกว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะมีศักยภาพในการเล่นไฟล์เสียง (Wave) ไฟล์มีดี (MIDI)
ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์จากแผ่นซีดีรอม
(CD-ROM) จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของมัลติมีเดียที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจนถึงปัจจุบัน
บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย
ที่สามารนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์
และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประจวบเหมาะสมระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน
สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย
มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้
การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เอื้อให้นักออกแบบสื่อมัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อประเภทต่างๆ
มาใช้ร่วมกันได้บนระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างสื่อเหล่านี้ ได้แก่ เสียง วีดิทัศน์
กราฟิก ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ การนำสื่อเหล่านี้มาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
เรารวมเรียกสื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) การพัฒนาระบบมัลติมีเดียมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ
จนถึงขั้นที่ผู้ใช้โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้
เช่น การใช้คีย์บอร์ด การใช้เม้าส์ การสัมผัสจอภาพ และการใช้เสียง เทคโนโลยีต่างๆ
เหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น
การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดเล็กลง
แต่มีความจุมากขึ้น และมีสมรรถนะในการเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น นอกจากนี้
ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญๆ เช่น เครื่องกราดภาพ (Scanner)
เครื่องบันทึกภาพและเสียงระบบดิจิทัล เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
และอื่นๆ ซึ่งล้วนสนับสนุนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้น่าสนใจ
และมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้โปรแกรม
แนวคิดใหม่ในการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บางแนวคิดเกิดขึ้นมานานแล้ว
แต่ขัดข้องที่ไม่สามารถนำเสนอด้วยสื่อรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ได้
บางแนวคิดเกิดขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาด้านศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์
เทคนิควิธีการออกแบบดังกล่าวทำให้เกิดคำศัพท์ที่มีคำนิยาม และความหมายที่หลากหลาย
เช่น คำว่า มัลติมีเดย มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive multimedia) ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) และไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)
ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย
ในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเรียนรูปแบบใด จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวหัวเรื่อง, เป้าหมาย, วัตถุประสงค์
และกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ จากนั้นก็ทำการ วิเคราะห์ (Analysis), ออกแบบ (Design), พัฒนา (Development), สร้าง (Implementation), ประเมินผล (Evaluation)
และนำออกเผยแพร่ (Publication) ซึ่งการสร้างสื่อมัลติมีเดีย
ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ
ซึ่งหมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้างสื่อมัลติมีเดียได้
ในที่นี้จะกำหนดขั้นตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด 7 ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย
(สุกรี รอดโพธ์ทอง 2538 : 25-33) ดังนี้
1. ขั้นการเตรียม (Preparation)
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
(Determine Goals and Objectives) คือการตั้งเป้า
หมายว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนนี้เพื่อศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด
กล่าวคือ เป็นบทเรียนหลักเป็นบทเรียนเสริม เป็นแบบฝึกหัดเพิ่มเติมหรือแบบทดสอบ
รวมทั้งการนำเสนอเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเรียน
เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน
เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียน
- รวบรวมข้อมูล
(Collect Resources) หมายถึง
การเตรียมพร้อมทางด้านของเอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
- เนื้อหา (Meterials) ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ภาพต่างๆ
แบบสร้างสถานการณ์จำลอง
เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสภาพการณ์จำลองจากสถานการณ์จริง
ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกลไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย
หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอนใช้เสริมการสอนในห้องเรียน
หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ใด เวลาใด ก็ได้
- การพัฒนาและออกแบบบทเรียน
(Instructional Development) คือ หนังสือการออกแบบบทเรียน
กระดาษวาดสตอรี่บอร์ด สื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น
- สื่อในการนำเสนอบทเรียน
(Instructional Development System) ได้แก่ การนำเอา
คอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน
- เรียนรู้เนื้อหา
(Learn Content) เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
การอ่านหนังสือหรือ
เอกสาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน
ถ้าไม่มีการเรียนรู้เนื้อหาเสียก่อนก็ไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพได้
- สร้างความคิด
(Generate Ideas) คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมายถึง
การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ
เป็นจำนวนมาก
2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน
(Design Instruction) ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน
เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด
- ทอนความคิด
(Elimination of Ideas)
- วิเคราะห์งานและแนวความคิด
(Task and Concept Analysis)
- ออกแบบบทเรียนขั้นแรก
(Preliminary Lesson Description)
- ประเมินและแก้ไขการออกแบบ
(Evaluation and Revision of the Design)
3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน
(Flowchart Lesson) เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างขอ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ
ผู้เรียนตอบคำถามผิด
หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียนด้วย
4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด
(Create Storyboard) เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ
ภาพ รวมทั้งสื่อใน
รูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ
ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบน
หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป
5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม
(Program Lesson) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลสตอรีบอร์ดให้กลายเป็น
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง
โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ
6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน
(Produce Supporting Materials) เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได
้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน
คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป
ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน
คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติตตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก
7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน
(Evaluate and Revise) บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน
โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน
ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น
ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ
แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้
ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียน
จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว
โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด
รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร
การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น
เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย
สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด
หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน
และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม
สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง
สื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น
คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ
ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง
และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี
ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย
ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม
ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ
บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น
ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง
ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน
เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป
จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี
คำถามที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของการลงทุนยังคงมีอยู่ตลอดเวลา
คำตอบที่ชัดเจนคงมีเพียงคำตอบเดียวคือ
หากเราใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน
เมื่อกล่าวถึงความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะคิดว่า
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นจะนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง
ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่
ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์
ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว
ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดีย
และแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น
คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ
เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้
มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน
บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2
ลักษณะจึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายคือ การสอน
อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
- ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง
หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ
โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
- ใช้เพื่อการเรียนการสอน
แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
- ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
- รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน
การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา
และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
- โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
- การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ
นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายคือ
การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
- ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล
กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
- ใช้มากในการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
- อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
- เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น
ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
- โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
หรือผู้นำเสนอ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันตก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด
ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต
รูปแบบต่างๆ
ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือ การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์
และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า
CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ
และเสียงเป็นองค์ประกอบหลัก โดยภาพและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวีดิทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน
ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม
โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น
การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน
เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่า เว็บ (Web)
ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1990
เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ
ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น
เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน
การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นอย่างมาก
ในช่วง ค.ศ. 1995 ถึงปัจจุบัน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอน
และการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมีความก้าวหน้ามากขึ้น
โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft
FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia
Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม
Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว
โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ
ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia
Authorware และ ToolBook ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้
การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้เอง
ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล
รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ
การนำเสนอ
หรือเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษว่าการพรีเซ้นท์ (Presentation) เป็นการบรรยาย
หรือนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ฟังโดยอาจมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายหรือไม่ก็ได้
อดีตการเตรียมงานนำเสนอแต่สักชิ้นต้องเตรียมตัวกันมากพอสมควร ตัวอย่างง่ายๆ
ได้แก่
การบรรยายหน้าชั้นเรียนของอาจารย์ผู้สอน
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนำเสนอค่อนข้างยุ่งยาก เริ่มจากการเตรียมเนื้อหา นำภาพมาประกอบ
นำข้อมูลที่มีเขียนลงบนแผ่นสไลด์
(หรือเขียนบนแผ่นใส)
และบางครั้งอาจมีการอัดเสียงประกอบการบรรยายร่วมด้วยสิ่งที่เป็นปัญหาและเกิดขึ้นบ่อยมากคือ การแก้ไข
หากต้องการแก้ข้อความ
เปลี่ยนรูป เราต้องหาน้ำยาลบข้อความ
หรือบางครั้งสีปากกาไม่ตรงกับสีที่มีอยู่ในสไลด์เดิม หรือหากมีการเปลี่ยนลำดับการนำเสนอ ก็ต้องไปตามแก้เสียงประกอบที่อัดไว้ และยังมีปัญหาอื่นๆ อีกจิปาถะเมื่อมาสู่ยุคดิจิตอล
ยุคที่มือถือเป็นที่นิยมของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คอมพิวเตอร์มีบทบาทช่วยในการจัดเตรียมงานนำเสนอ
ไม่ต้องวุ่นวายกับการตกแต่งสไลด์และเรื่องจุกจิกของเครื่องฉายสไลด์อีกต่อไป
เพราะคอมพิวเตอร์สามารถสร้างงานนำเสนอแบบเบ็ดเสร็จในเวลา
การผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียในโรงเรียน
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ
โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น
การเงิน งานพัสดุ งานกิจการนักเรียน งานห้องสมุด
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ
โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม
หรือจัดหาโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดีนนั่นเอง
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น
ด้วยเหตุผลดังนี้
- เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิด
และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถช่วยเสริมการเรียนรู้
ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
- สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม
ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
- สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง
- ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน
(Authoring tool) ที่ง่ายต่อการใช้งาน
ทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
- ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่
เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ
ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
- สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้น
ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ
ตามเวลาที่ตนเองต้องการ
- เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย
สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ทุกระดับอายุและความรู้
หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
- สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ
นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว
ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ
อีกด้วย
องค์ประกอบที่เอื้อต่อการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียช่วยก่อให้เกิดการตื่นตัว
ผลักดันให้ครู อาจารย์ และผู้บริหารทุกระดับของการศึกษาไทย
หันมาให้ความสนใจกับการผลิตและการใช้สื่อมัลติมีเดียมากขึ้น ในส่วนของภาครัฐนอกจากได้มีการวางแผนจัดสรรงบประมาณ
เพื่อจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทุกระดับ
รวมทั้งแผนการให้ความรู้และทักษะคอมพิวเตอร์แก่ผู้บริหาร ครูและอาจารย์แล้ว
ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการผลิตและการจัดซื้อสื่อมัลติมีเดียด้วย
ในส่วนของภาคเอกชนมีการตื่นตัวกับการผลิตและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเช่นกัน
หลายโรงเรียนมีขีดความสามารถในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยตนเองเพื่อใช้เองหรือใช้ภายในกลุ่มโรงเรียน
หรือใช้ในโรงเรียนในโครงการหรือเครือข่ายความร่วมมือกัน บางโรงเรียนต้องซื้อจากผู้ผลิตอื่นๆ
บางโรงเรียนใช้วิธีผสมผสานคือ ผลิตเองบ้าง
หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตตามความต้องการบ้าง
บรรยากาศในการผลิตและการจัดหาสื่อมัลติมีเดีย เกิดขึ้นต่อเนื่องมากว่า 10 ปีแล้ว
แต่ยังพบว่าปริมาณและคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียที่เราผลิตขึ้นใช้เองนั้น
มิได้สูงขึ้นตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น โดยสรุปแล้วน่าจะมีสาเหตุเกี่ยวข้องดังนี้
1. ด้านการผลิต
รูปแบบการผลิตสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะบทเรียน CAI จะมี 3 รูปแบบคือ โรงเรียนผลิตเองทั้งหมด โรงเรียนร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิต
และบริษัทผู้ผลิตทำเองทั้งหมด ทั้ง 3
รูปแบบนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในประเทศอื่นๆ
ตรงที่ผลิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมากว่ากัน อย่างไรก็ตาม
รูปแบบที่โรงเรียนผลิตเองก็มีความเป็นไปได้น้อย เพราะการลงทุนสูงและไม่คุ้มค่า
โดยเฉพาะการลงทุนด้านอุปกรณ์การผลิตบุคลากรหรือทีมงานผลิต
อาจารย์ผู้เป็นเจ้าของเนื้อหาวิชา รวมทั้งลิขสิทธิ์โปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียน
ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง การบริหารจัดการก็เป็นปัญหาปัญหาส่วนหนึ่ง
การผลิตในลักษณะนี้อาจคุ้มค่าหากเป็นการร่วมมือกันผลิตในกลุ่มโรงเรียน
ในเขตการศึกษา หรือโรงเรียนในสังกัดหน่วยงานเดียวกัน
มีองค์กรหรือผู้รับผิดชอบชัดเจน มีแผนงานและนโยบายที่ต่อเนื่อง
รูปแบบที่สอง
เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและบริษัทผู้ผลิต
เป็นรูปแบบที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ
รายละเอียดของความร่วมมือมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น
บริษัทผู้ผลิตเป็นผู้แนะนำเทคนิคต่างๆ ในการออกแบบ และการเขียน Storyboard ให้แก่ครู อาจารย์ ซึ่งเป็นเจ้าของเนื้อหา
เมื่อได้ Storyboard แล้วบริษัทผู้ผลิตจะดำเนินการผลิต
ปรับปรุงและเพิ่มเติมบางส่วน ส่วนลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ใดก็แล้วแต่การตกลง
รูปแบบความร่วมมืออื่นๆ เช่น โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเขียน Storyboard
ทั้งหมด แล้วจ้างบริษัทเขียนโปรแกรม
หรือบริษัทอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจากโรงเรียนกำหนดเนื้อหา กิจกรรม
ขอบข่ายเทคนิคการสอน การประเมิน ฯลฯ รูปแบบการร่วมมือลักษณะนี้จะช่วยแก้ปัญหาทั้งสองฝ่ายในด้านการขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน
การร่วมมือกันผลิตดังกล่าวนี้อาจมีข้อเสียเปรียบอยู่บ้างในแง่ของการบริหารจัดการ
การประสานงาน และความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์
รูปแบบที่สาม คือ
บริษัทเอกชนเป็นผู้ผลิตเองทั้งหมด มีเป้าหมายสองประการ คือ ผลิตตามการว่าจ้าง
หรือผลิตเพื่อจำหน่าย การผลิตตามการว่าจ้างนั้นก็เป็นที่ต้องการของบริษัท
เพราะได้รับค่าตอบแทนหรือค่าว่าจ้างเป็นเงินก้อนไม่ต้องรับผิดชอบในการขายแต่ประการใด
ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งดูแลการศึกษาในระบบใหญ่
สามารถนำบทเรียนไปใช้อย่างคุ้มค่า แต่ปัญหาของบริษัทผู้ผลิตก็มีเช่นกัน
ปัญหาใหญ่อยู่ที่การกำหนดรายละเอียดของการออกแบบโปรแกรม
หากไม่ทำความตกลงให้ชัดเจนถึงรูปแบบ เทคนิควิธีการ และอื่นๆ แล้ว
การตรวจรับงานโดยกรรมการคนละชุดกันอาจไม่มีเกณฑ์อ้างอิงที่ช่วยกำหนดกรอบของการรับงานได้
สำหรับรูปแบบการผลิตเพื่อจำหน่ายเอง ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหามาก ปัญหาประการแรก คือ
การออกแบบบทเรียนที่มีคุณภาพดี บริษัทต้องลงทุนสูงมาก
ความคุ้มค่าอยู่ที่จำนวนสำเนาที่ได้จำหน่ายออกไป ปัญหาประการที่สอง คือ
ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้ไม่เต็มที่
หลายบริษัทต้องเลิกล้มแนวคิดในการผลิตสื่อมัลติมีเดียด้วยเหตุที่ไม่สามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
และไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้ง ปัญหาประการที่สาม คือ ความเสียเปรียบด้านภาษา
สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือคนไทยเป็นภาษาไทย มีกรอบจำหน่ายที่แคบอยู่ภายในประเทศไทยเท่านั้น
ปัญหาข้อนี้ส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาขายด้วย
เมื่อยอดขายต่ำก็จำเป็นต้องตั้งราคาขายสูงเพื่อให้คุ้มทุน ในทางกลับกัน
สื่อมัลติมีเดียที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักมีข้อได้เปรียบ คือ
มีวงจำหน่ายที่กว้างขวาง หลายบริษัทจึงหันไปร่วมธุรกิจกับต่างประเทศโดยรับเขียนโปรแกรมให้เบ็ดเสร็จตามรูปแบบการผลิตที่กล่าวไว้แล้ว
ผลที่ตามมาก็คือโรงเรียนต่างๆ
ยังคงขาดแคลนสื่อมัลติมีเดียที่เป็นภาษาไทยที่มีคุณภาพ
สื่อมัลติมีเดียที่ใช้สอนภาษาอังกฤษแม้มีให้เลือกมากขึ้น
แต่ก็ยังมีราคาสูงเกินที่จะจัดหาให้เพียงพอกับการใช้เพื่อการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลได้
2. ด้านการจัดหา
รูปแบบการจัดหาสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะบทเรียน CAI คล้ายกับการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อใช้ในห้องสมุดหรือชั้นเรียน
ในการจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีอะไรซับซ้อน ความสำคัญจะอยู่ที่สื่อที่มีให้เลือกและวิธีการเลือก
หากมีจำนวนให้เลือกมากพอ
และผู้เลือกได้มีโอกาสเปรียบเทียบคุณภาพกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้เป็นมาตรฐาน
โอกาสที่จะได้สื่อที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมก็มีมากการจัดหาสื่อมัลติมีเดียจะมีรูปแบบคล้ายกัน
หากมีสื่อให้เลือกมากพอ มีแบบประเมินที่มีคุณภาพ
และมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพในทุกด้านก็น่าจะเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้ยังมีปัญหาการปฏิบัติเกือบทุกด้าน ประการแรกคือ
สื่อมัลติมีเดียยังมีไม่มากพอที่จะให้เลือกใช้ แม้ในระยะหลังหน่วยงานต่างๆ
จะมีนโยบายสนับสนุนการผลิตหรือการจัดหาบทเรียนมาตลอด
แต่การจะสร้างให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านปริมาณและคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
แบบประเมินยังมีไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก
อีกทั้งยังมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและหัวข้อการประเมิน
ขาดแคลนมากที่สุดน่าจะเป็นนักประเมินที่มีความรู้ความเข้าใจการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย
ผู้ที่จะเป็นผู้ประเมินนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการสอน รู้เทคนิคการออกแบบ รู้รูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย
รู้ข้อจำกัดและข้อได้เปรียบ
สามารถประเมินคุณภาพกับราคาเปรียบเทียบกันได้และแน่นอนว่าผู้ประเมินจะต้องมีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์
สามารถตรวจสอบการใช้งาน
วิเคราะห์ความยากง่ายในการใช้งานของสื่อมัลติมีเดียที่ตนประเมินอยู่ได้
ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนัก
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป
หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ
จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึง
การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป
ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร
(Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ
ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์
ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน
เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional
Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format)
แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน
ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร
เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์
เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ
(Material s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน
เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน
โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s ) หมายถึง วัสดุ
อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
สรุปได้ว่า
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ
ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน
ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี
ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วิธีสอน วิธีสอน (Instructional
Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น
วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน
ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information)
ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร
จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก
จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม
การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้
แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ
ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย
ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น
เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication
Process)
กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models)
รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว
กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน
ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ
ดังกล่าวได้
ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม
จำแนกและการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้
ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู
ด้วยเหตุนี้
ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับตัวผู้เรียน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน
กรวยประสบการณ์ของ
เอดการ์ เดล (Edgar Dale)
การสอนโดยทั่วไปควรเริ่มจากประสบการณ์ตรง ผ่านไปยังประสบการณ์จำลอง (
เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิและภาพยนตร์ ) ไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งการเรียนจากสื่อต่างๆ
ทั้งหลายจะมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
การสอนควรควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจำแนก - บูรณาการ ดังนั้น
ประสบการณ์รูปธรรมและ / หรือกึ่งรูปธรรม จะช่วยเกื้อหนุนการเรียนรู้และจดจำได้นาน
ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสัญลักษณ์หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น
วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols)
Abstract
ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbo)
การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง
(Recording, Radio and Iconic
Still Pictures)
ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
โทรทัศน์ (Television)
นิทรรศการ (Exhibits)
การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
การสาธิต (Demonstrations)
ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized
Experiences) En active
ประสบการณ์จำลอง (Contrived
Experiences)
ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย
นอกจากสื่อการสอนจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน
แล้วสื่อการสอนยังช่วยให้ผู้เรียนได้บูรณาการประสบการณ์เดิมทั้งหลายเข้าด้วยกันอีกด้วย
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอย่างเหมาะสมในการเรียนการสอน
จึงเป็นเหตุผลหรือหลักการสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
1.
การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist
Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ
เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ
เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation)
สิ่งต่างๆ
ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก
ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept)
ในเรื่องนั้นๆ
กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้าด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ
และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ
ต่อไป
Schemata (Schema)
Assimilation
Accommodation
2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม
เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4
ประการ คือ
1. แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน
ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
2. สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน
(สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
3. การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ
กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
สื่อการสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้
ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม
ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม
(Cognitivist) ที่เชื่อว่า
การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์)
มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป
ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ
ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้
แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ
ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ
เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น
การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ
การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด
และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความรู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยาสังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอน
นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น
การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น
บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า
ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า
การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
(Competitive Learning
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า
เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ ดังนี้
1)
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a
P recess) หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ
ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
2)
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Technology as P
redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ
และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
3)
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล (Technology
as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง เทคโนโลยีในแง่ (1)
การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน (2)
การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์
เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน
การนำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน
ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน
ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม
การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร
เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a
P recess) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ
ทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
เทคโนโลยี
เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ มาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ
ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน
จึงหมายถึงการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ
ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น
เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้
ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ
หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง
(Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular
Instruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and
Simulation) เป็นต้น
เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ
ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน
จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน
สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู
การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด
โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครู
ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน
ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร
ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้
เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ
โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา
การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ
และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ
สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา
ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา
จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ ได้
4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน
สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้
มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ
จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน
ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1)
การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การสอนแบบกลุ่มใหญ่
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม
ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล
การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน
การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง
หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู
โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วยการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี
เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษา
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร
(Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร
(Message)
3.
สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร
(Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า การศึกษา
เราหมายความถึงทั้ง การเรียน
การสอน ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง
กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา
เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น
(ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ
การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น /
การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น
เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต
มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่
พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้น
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง
มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น
ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ
สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน
หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น
และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือ
การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน
พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ
ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ
ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ
มีทักษะในการสื่อสาร
และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม
นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์
มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์
กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ
บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์
ฯลฯ2. ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก
ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง
ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้
จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยายจ่ายแจก
ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย
จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ แต่คงจะมีมากกว่านี้อีก ยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจ ไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ
จากอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด หรือหนังสือต่างๆ
LMS คืออะไร
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก
Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ
โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ
จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ
ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้
เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ
คือ การเก็บบันทึกข้อมูล
กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์
ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบ LMS
LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management)
กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น
3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน
เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม
รูปแบบ
2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content
Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation
System) มีระบบคลังข้อสอบ
โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ
พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ
ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management
System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้
ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่
บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message) คือ
เรื่องราวที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ มีความหมาย และ
สาระสำคัญเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ที่ผู้ส่งต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร
อาจอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ท่าทาง การแสดงสีหน้า คำพูด น้ำเสียง
การสัมผัส เป็นต้น
ตัวกลาง (Channel) คือ ช่องทางที่ทำหน้าที่นำพาข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ซึ่งอาจอยู่ในรูป ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การได้เห็น การสัมผัส
การดมกลิ่นและรส จากสื่อต่างๆ ที่ใช้ใน การสื่อสาร ผู้รับสาร (Receiver) หน่วยสุดท้ายของการสื่อสาร
เพราะส่วนนี้ต้องเป็นผู้ที่รับรู้สิ่งต่างๆ จากผู้ส่งสาร
และเป็นสิ่งที่ใช้วัดว่าการสื่อสารครั้งนั้นๆ เป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่
เพราะถ้าผู้รับสารไม่มีความ เข้าใจในเรื่องที่กำลังสื่อสารกัน
จะไม่เรียกว่าการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร
การสื่อสารของสัตว์
การสื่อสารระหว่างบุคคล
การตลาด
การโฆษณา
การโฆษณาชวนเชื่อกิจการสาธารณะ
การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารภายในบุคคล
การสื่อสารด้วยคำพูด
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
โทรคมนาคม การสื่อสาร
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง
แบบจำลองของการสื่อสาร
การสื่อสารโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือผู้ส่งหรือผู้สื่อ
--- --- --- เนื้อหา เรื่องราว และกระบวนการสื่อสาร --- --- ---
ผู้รับความมุ่งหมายของการสื่อสารคือ การที่ผู้รับยอมรับสารที่ผู้ส่ง
ส่งไปยังผู้รับ ถ้าผู้รับเข้าใจความหมายของสาร ที่ผู้ส่งขอให้ผู้รับปฏิบัติ
แต่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม ความสำเร็จตามความมุ่งหมายของการสื่อสารนั้นก็ไม่เกิดขึ้น
ในทางตรงกันข้าม หากผู้รับตอบสนองต่อสารที่ผู้ส่งส่งไปยังผู้รับ
และปฏิบัติตามความเหมาะสม ความมุ่งหมาย ของการสื่อสารนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ
การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้
และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการ
เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
โลกปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล เปรียบเสมือนโลกเป็นหมู่บ้านเล็กๆ
หมู่บ้านหนึ่งที่คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงภายในพริบตา
เทคโนโลยีการศึกษาจำเป็นต้องทราบถึงโทรคมนาคมเพื่อนำมาใช่ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาทางไกลที่ต้องใช้เทคโนโลยีและระบบการสื่อสารโทรคมนาคมช่วยในการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา…
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่า”เทคโนโลยีการศึกษา”โดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ
ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล
หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า
เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน
ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ วิธีการ ประเภท
และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน
ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย
เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน
การสื่อสารในห้องเรียน
ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ
อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น
ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม
ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
ตัวอย่าง เช่น
การรับรายการโทรทัศน์การศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวลทางโทรทัศน์ช่อง UBC ด้วยจานรับสัญญาณผ่านดาวเทียมแบบรับตรง วิธีการเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูลสมรรถนะในการเรียนการสอนและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เช่นการเรียนในห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่งสามารถเรียนร่วมกับผู้เรียนในสถาบันการศึกษาแห่งอื่นที่มีผู้สอนสดและส่งการสอนนั้นมาเพื่อเรียนร่วมกันได้
การสื่อสารในการศึกษาทางไกล การศึกษาทาง”กลเป็นการเรียนการสอนและผู้เรียนถึงแม้จะไม่อยู่ในที่เดียวกันแต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรคมนาคมซึ่งเป็นการสื่อสารระยะไกล
การเรียนการสอนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ ตาความสะดวกของแต่ละคน
และสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ละสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น
หนังสือ เอกสารประกอบการเรียน เทปเสียง แผ่นวีซีดี รายการวิทยุ โทรทัศน์การสอน
เป็นต้น
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ของวิชา
ส่งการบ้านหรือถามคำถามทางอีเมลไปยังผู้สอนสอน
หรือติดคำถามบนเว็บบอร์ดเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
เป็นแบบประสารเวลาด้วยการสอนบนเว็บโดยผู้เรียนล็อกออนเข้าเข้าเรียนในเวลาที่ผู้สอนกำหนด
ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ทันที
หรืออาจเป็นการเรียนแต่มีการนัดหมายเวลาเพื่อสนทนาสดด้วยเสียงแบบเห็นหน้ากันหรือพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้
ความหมายของโทรคมนาคม
โทคมนาคม เป็นการส่งข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ และเสียง
โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
หรือการติดต่อสื่อสารจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แปลงข้อมูลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าให้ไหลไปตามตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ
เช่น สายเคเบิลทองแดง เคเบิลเส้นใยนำแสง หรือโดยใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สาย เข่น
คลื่นวิทยุแบบแพร่สัญญาณ คลื่นไมโครเวฟ การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม แสงอินฟราเรด
โดยที่จุดส่งกับจุดรับจะอยู่ห่างไกลกัน
และเรื่องราวที่ส่งจะเฉพาะเจาะจงถึงผู้รับคนใดคนหนึ่งหรือผู้รับทั่วไปก็ได้ เช่น
รับฟังเสียงทางโทรศัพท์ ดูรายการโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียมมายังจานรับสัญญาณ
เป็นต้น
การสื่อสารโทรคมนาคม
ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมมีการทำงานโดยเริ่มขึ้นเมื่อข้อมูลถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
สัญญาณนั้นถูกส่งผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังเครื่องรับ
และเครื่องรับถอดรหัสหรือแปลงสัญญาณกลับมาเป็นรูปแบบที่ผู้รับข้อมูลนั้นเข้าใจได้
องค์ประกอบของการสื่อสารโทรคมนาคม
การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นการสื่อสารระยะไกลที่ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ
3 อย่าง ได้แก่ ตัวส่งผ่านหรือพาหะ ช่องทางโทรคมนาคม และอุปกรณ์สื่อสาร
- ตัวส่งผ่านและพาหะ
เพื่อนำข่าวสารไปถึงกันโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น
“คลื่นพาห์”ช่วยนำสัญญาณไฟฟ้าแพร่กระจายไปไนบรรยากาศไปยังเครื่องรับได้โดยสะดวก
- ช่องทางโทรคมนาคม
ช่องทางโทรคมนาคม หมายถึง ทาง หรือตัวกลางสื่อสัญญาณ
ที่ข้อมูลสารสนเทศใช้เดินทางเพื่อการสื่อสารในระบบโทรคมนาคมจากแหล่งส่งไปยังจุดรับ
โดยช่องทางนี้จะเป็นตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ หรือตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สายก็ได้
- อุปกรณ์สื่อสาร
อุปกรณ์สื่อสาร หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างจุดส่งและจุดรับ
โดยที่แต่ละจุดจะต้องมีเครื่องมือสื่อสารซึ่งมีทั้งเครื่องรับอยู่ภายในเครื่องเดียวกัน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
พื้นฐานของช่องทางโทรคมนาคม-ทั้งด้วยการใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพหรือแบบไร้สายก็ตาม
–จะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์
คลื่นเรดาร์ หรือการเปิดปิดประตูหน้าบ้านด้วยรีโมตคอนโทรล เหล่านี้เรียกว่า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งสิ้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ประกอบด้วยสนามพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแม่เหล็กซึ่งเดินทางเป็นคลื่น
ท่ามกลางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็น คลื่นพาห์
ช่วยนำสัญญาณในการสื่อสารคลื่นแบบต่างๆ
ที่ใช้สื่อสารจะมีความแตกต่างกันแล้วแต่ความถี่ นับตั้งแต่พิสัยของคลื่นวิทยุจากคลื่นความถี่ต่ำ
พิสัยของความถี่เหล่านี้เรียกว่า แถบความถี่ หรือเรียกทัพศัพท์ว่า แบนด์วิดท์
แบนด์วิดท์ในการส่งสัญญาณอนาล็อกจะเรียกเป็น เฮิตซ์ หรือรอบต่อวินาที
หากเป็นการส่งสัญญาณแบบดิจิทอัลเรียกเป็น บิทต่อวินาที
แบนด์วิดท์ จะมีความแตกต่างกันระหว่างความถี่สูงกับความถี่ต่ำในการส่ง
ยิ่งแบนด์วิดท์มากเท่าไหร่จะช่วยส่งข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น
และหากใช้แบนด์วิดท์แคบจะทำให้สูญเสียพลังในการส่งมากขึ้นเช่นกัน
จึงต้องชดเชิญการสูญเสียพลังด้วยการใช้การหน่วงหรือการทวนสัญญาณเพื่อทำซ้ำสัญญาณเดิม
แบนด์วิดท์จะระบุกันด้วยความเร็วหรือการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ย่อมต้องใช้แบนด์วิดท์กว้างที่เรียกว่า
บรอดแบนด์ ที่ส่งผ่านข้อมูลได้ตั้งแต่ 1.544-55เมกกะบิตต่อวินาที
ตัวกลางสื่อสัญญาณ
ในการส่งผ่านซึ่งเป็นวัสดุเทคนิควิธีการที่ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้
ตัวกลางสื่อสัญญาณมี 2 ลักษณะ คือ ตัวกลางที่เป็นสื่อทางกายภาพ และสื่อไร้สาย
ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพ
เป็นการใช้สายเคเบิลและวัสดุอื่นๆ ในการส่งสัญญาณ
ตัวกลางสื่อสัญญาณที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ สายโทรศัพท์ซึ่งทำด้วยรวดทองแดง
แต่ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุอื่นที่ส่งสัญญาณผ่านได้เร็วขึ้น ได้แก่
สายเคเบิลคู่ไขว้
สายเคเบิลคู่ไขว้ เป็นสายที่ใช้กันทั่วไปในเครือค่ายและระบบโทรศัพท์
สายรวดพวกนี้ประกอบด้วยทองแดง2เส้น
ไขว้พันกันเหมือนหางเปียแต่ละคู่อาจมีคู่เดียวหรือหลายคู่ก็ได้
สายนี้มีความเร็วในการส่ง 1-128 เมกะบิตต่อวินาที
สายเคเบิลร่วมแกน มักเรียกกันย่อๆว่า สายแอ็กซ์
ประกอบด้วยลวดทองแดงเดี่ยวเป็นแกนเดี่ยวเป็นแกนตัวนำและพันรอบด้วยวัสดุ3ชั้น คือ
วัสดุกันฉนวน ลวดทองแดงมัดพันเกลียวกันตั้งแต่2ชั้น และปลอกพลาสติกหุ้มลวด
มีความเร็วในการส่งสัญญาณได้สูงถึง 200 เมกะบิทต่อวินาที
สายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสง
สายเคเบิ้ลเส้นใยแก้วนำแสง มีความเร็วในการส่งตั้งแต่ 100 เมกะบิตถึง
204 จิกะบิตต่อวินาที
มีข้อได้เปรียบกว่าสายเคเบิล คือ
• มีความสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก
และส่งได้มากกว่า รวดเร็ว และไกลกว่า
• ป้องกันการลบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
• มีขนาดเล็กและเบากว่า
• ไม่เป็นสนิม
• ติดตั้งง่ายเข้าได้ทุกที่
• วัตถุดิบในการผลิตมีอยู่มากในธรรมชาติ
มีข้อจำกัดคือ
• มีความเปราะ
แตกหักง่ายกว่าสายโลหะธรรมดา
• ต้องมีการเชื่อมที่มีความถูกต้องแน่นอน
• ยากต่อการแยกสัญญาณ
• ใช้ส่งกำลังงานไฟฟ้าสำหรับเลี้ยงระบบต่างๆไม่ได้
ISDN Lines
ย่อมาจาก Integrated Services Digital Network แปลว่า
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล สามารถส่งสัญญาณจากการสื่อสารระบบต่างๆ เช่น
การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียว สายเคเบิลใต้น้ำ ไมโครเวฟ มีความเร็วในการส่ง
128กิโลบิตต่อวินาที ด้วยสมรรถนพของ ISDN 1
สามารถพ่วงได้ครั้งละ 8 สัญญาณ
Digital Subscriber Line
DSL เป็นสายในการส่งผ่านสัญญาณดิจิทัลที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก
สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าการใช้สายเคเบิลทองแดงธรรมดา DSL ได้รับความนิยมมากในการให้บริการอินเตอเน็ตความเร็วสูง ได้แก่
• Digital Subscriber Line (ADSL) มีการรับสัญญาณได้เร็วกว่าการส่ง
ความเร็วในการรับตั้งแต่ 1.54-8.45 เมกะบิต/วินาที และควาเร็วในการส่ง 128
กิโลบิตถึง 1 เมกะบิต/วินาที
• Very Hight Speed Digital
Subscriber Line มีความไวในการส่ง 13-55 เมกะบิต/วินาที ในระยะทางสั้นๆ ระหว่าง
300-1500เมตร โดยต่อโฒเด็ม VDSL เข้ากับคู่สายทองแดงที่ใช้บริการสายโทรศัพท์ปรกติเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้ด้วยอัตราความเร็วสูงมาก
รวมทั้งการให้การบริการหลายรูปแบบ เช่น video on demandได้พร้อมกันหลายช่อง
T-Carrier Lines
T-Carrier Lines เป็นสายดิจิทัลที่นำพาสัญญาณหลายๆ
สัญญาณได้โดยการใช้สายสื่อสานเพียงเส้นเดียว T-Carrier Lines
จะใช้เทคนิคการรวมสัญญาณร่วมสื่อเพื่อให้หลายๆสัญญาณนั้นสามารถใช้สายโทรศัพท์สายเดียวร่วมกันได้
ที่นิยมใช้กันมากคือ T-1 Linesสามารถนำพา 24 สัญญาณแยกกันด้วยอัตราความเร็ว 64
กิโลบิต/วินาที และ T-3
มีสมรรถนะเป็น 28 เท่าของT-1 Lines โดยสามารถนำพา 674
สัญญาณแยกกันด้วยอัตราความเร็ว 64 กิลโลบิต/วินาที
ตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สาย
Wireless (ไร้สาย)
เป็นคำที่ใช้เพื่อกล่าวถึงการสื่อสารโทรคมนาคมที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านำพาสัญญาณไปในช่องทางสื่อสาร
เครื่องส่งสัญญาณในยุคแรกเริ่มต้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20
เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณเสียง ภาพ และข้อความไปยังเครื่องรับต่างๆ
ในปัจจุบันการส่งสัญญาณไร้สายไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไร้สายนานาประเภท
ที่พบทั่วได้แก่ โทรศัพท์เซลลูล์ โ?รศัพท์พื้นฐานในบ้าน
เคื่องติดตามตัว เมาส์ คีย์บอร์ด แลนไร้สาย
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารไร้สายมีอยู่มากมายเช่นกัน เช่นGSM GPRS UMTS IR เหล่านี้เป็นต้น
ตัวกลางสื่อสัญญาณไร้สายที่ใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
คลื่นวิทยุแบบแพร่สัญญาณ
เป็นสื่อที่ใช้ในการส่งสัญญาณไร้สายที่ใช้สัญญาณวิทยุแพร่ไปในอากาศในระยะไกลระหว่างเมืองและประเทศต่างๆ
ปกติแล้วการแพร่สัญญาณลักษณะนี้จะเป็นการส่งสัญญาณจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับวิทยุในระบบ
AMและFM แต่ระบบองค์กรหรือบริษัทบางแห่งจะใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารเคลื่อนที่ใช้ในเครือข่ายของตน
โดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว และPDA ซึ่งจะมีเสาอากาศในตัวที่สามารถสื่อสารกับเครือข่ายนั้นได้
คลื่นวิทยุจะมีความเร็วในการส่งถึง 2 เมกะบิตต่อวินาที
การสื่อสารไร้สายจะใช้เกณฑ์วิธีการสื่อสารเรียกว่า WAP อันเป็นข้อกำหนดคุณลักษณะเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทันทีผ่านทางอุปกรณ์ไร้สายขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์
เครื่องติดตามตัว วิทยุสื่อสารสองทาง และคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กประเภท PDA และ Tablet Pc มาตรฐานหนึ่งที่นิยมใช้กันขณะนี้ได้แก่
Bluetooth ซึ่งประกาศใช้เป็นครั้งแรกโดยบริษัทอีริกสันในปี
พ.ศ. 2541 โดยใช้คลื่นวิทยุในการควบคุมการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
ในการสื่อสารในระยะ 10 เมตร นอกจากBluetooth แล้วในปัจจุบันมีมาตรฐาน
Wi-fi ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของชุดมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
IEEE 802.11 ที่กำหนดเทคโนโลยีที่ใช้สร้างเครือข่ายเฉพาะที่ไร้สาย
(WLAN) โดยใช้วิทยุความถี่
UHF Wi-fiเป็นเครือข่ายเปิดที่ ใช้งานได้ฟรี
และมีหลายมาตรฐานเหมาะกับการใช้งานลักษะต่างๆ และในปี พ.ศ.2548 ได้มีมาตรฐาน Wimax เพิ่มขึ้นอีกมาตรฐานหนึ่งด้วยความสามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงสุด
75 เมกกะบิต/วินาทีในช่วงความถี่ 2-66 จิกะเฮิรตซ์ พื้นที่ในเขตบริการ Wi-fi เรียกว่า hot spot ผู้ใช้คอมพิวเตอโน๊ตบุ๊ก
PDA เชื่ออมต่อด้วยโมเด็มกว่า 100 เท่า การใช้ “Wi-fi จะมีควาเร็วมากน้อยขึ้นอยู่กับสมรรถนะความเร็วของอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ไมโครเวฟ
ไมโครเวฟ เป็นคลื่นวิทยุที่สามารถส่งผ่านสัญญาณความเร็วสูง โดยการส่งสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง
การใช้คลื่นไมโครเวฟมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งเนื่องจากคลื่นความถี่จำกัดอยู่เพียงในระยะเส้นสายตา
คือ คลื่นจะเดินทางเป็นแนวเส้นตรงโดยไม่สามารถไปตามความโค้งของโลกได้
และไม่สารถทะลุสิ่งกีดขวางอย่างเช่นตึกหรือภูเขาได้
จึงต้องมีเสารับสัญญาณเป็นทอดๆในระยะ 5-30ไมล์ มีความเร็วในการส่ง
45เมกะบิต/วินาที
ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสาร
เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟเช่นกันแต่สถานีรับ-ส่งสัญญาณจะอยู่ในอวกาศโดยใช้ดาวเทียม
3 ดวงเป็นสื่อรับ-ส่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก
อินฟราเรด
อินฟาเรด
คลื่นแสงอินฟาเรดเป็นสื่อประเภทหนึ่งในการส่งสัญญาณไร้สายแต่จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่งผู้ส่งและผู้รับ
อุปกรณ์สื่อสาร
วิทยุ
วิทยุกระจายเสียง
เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมสื่อสารทางเดียวที่รับส่งคลื่นเสียงได้ในระยะไกลๆโดยไม่ต้องใช้สายในการสื่อสาร
โดยมีเครื่องส่งสำหรับใช้ในการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า คลื่นวิทยุ หรือ
คลื่นพาห์ และรวมกับคลื่นเสียงเป็นคลื่น ความถี่เสียงรวมกันเรียกว่า การกล้ำสัญญาณ
จากนั้นส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้ายังเครื่องรับวิทยุต่อไป
โทรสาร
โทรสาร หรือ แฟกซ์ เป็นอุปกรณ์ที่มีระบบการทำงานโดยต้นทางเครื่องส่งจะกราดแสงไปบนเอกสารซึ่งเป็นข้อความตัวอักษรขระและภาพแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งไปตามช่องทางโทรคมนาคต่างๆ
โทรทัศน์
โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ส่งข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวและเสียงไปพร้อมกันยังบุคคลทั่วไป
โดยมีสถานีส่งเพื่อถ่ายทอดสัญญาณไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ในที่ต่างๆ
ถ้าอยู่ห่างไกลมากอาจจะใช้การส่งคลื่นไมโครเวฟหรือการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยังสถานีย่อยเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องรับอีกทอดหนึ่ง
โทรศัพท์พื้นฐาน
โทรศัพท์พื้นฐาน เป็นระบบโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้านและในสถานีต่างๆซึ่งประกอบด้วยเครื่องโทรศัพท์
สายตัวนำหรือช่องสัญญาณที่นำเสียงพูด
และชุมสายโทรศัพท์ทำหน้าที่เป็นจุดสำหรับเชื่อมต่อลูกข่าย
โดยมีอุปกรณ์รวมสัญญาทำให้ส่งข่าวสารติดต่อกันได้พร้อมกันหลายๆเลขหมายโดยมีสวิตช์ช่วยในการติดต่อ
โทรศัพท์เซลลูลาร์
โทรศัพท์เซลลูลาร์ เป็นโทรศัพท์ไร้สายพกติดตัวไปได้ทุกที่
มีการสื่อสารผ่านข่ายวิทยุคมนาคม โทรศัพท์ชนิดนี้อาจแปลตรงตามชื่อว่า
โทรศัพท์แบบรวงผึ้ง แบ่งเขตการับสัญญาณออกเป็นพื้นที่เล็กๆ เรียกว่า เซลล์
แต่ล่ะเซลล์จะมีเสาอากาศรับ-สงสัญญาหลายๆสัญญาณได้พร้อมๆกัน
แต่ละเซลล์อาจอยู่ห่างกันหลาย10 กิโลเมตร
คอมพิวเตอร์
การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์โดยรับส่งข้อมูลมัลติมีเดียได้ทั้ง ตัวอักษร
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
การส่งผ่านข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เป็นการใช้สายโทรศัพท์เพื่อส่งข้อมูลดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลล
หรืออาจจะเป็รการส่งผ่านแบบไร้สายโดยใช้เทคโนโลยี Bluetooth
หรือ Wi-fi การใช้คอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมาในการสื่อสารได้แก่
การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การรับส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์
Email
การสนทนาสด MSN Messenger เพื่อพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันทันที
หรือการรับฝากข้อความ Voice mail หรือการศึกษาทางไกลได้หลายรูปแบบ
E-learning ที่นิยมในปัจจุบัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในการสื่อสารย่อมต้องใช้เครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างการส่งและการรับ
เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายวิทยุ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในการเรียนการสอนปัจจุบัน
ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานและช่องทางการสื่อสารได้แก่
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต้นทางเพื่อเป็นอุปกรณ์เครื่องส่งในการส่งข้อมูล
คำสัง และสารสนเทศ
- อุปกรณ์สื่อสารเพื่อแปลงข้อมูล
- ช่องทางสื่อสารเพื่อการส่งผ่านสัญญาณ
-
อุปกรณ์สื่อสารเพื่อรับสัญญาณจากช่องทางการสื่อสารและแปลงกลัยให้เป็นรูปแบบ
- คอมพิงเตอร์ปลายทางเพื่อเป็นอุปกรณ์เครื่องรับข้อมูล คำสั่ง
และสารสนเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่
2 เครื่องขึ้นไปโดยมีทั้งแบบใช้ตัวกลางสื่อสัญญาณทางกายภาพโดยใช้สายโทรศัพท์
โมเด็ม หรืออุปกรณ์อื่นๆ
เมื่อคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกันบนเครือข่ายจะเรียกว่าเป็นการใช่แบบออนไลน์ (online) เพื่อสามารถสื่อสารกันได้แบบทันที
เครือข่ายจะแบ่งกันได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่แบ่งออกได้ดังนี้
เครือข่ายขนาดกว้าง
เป็นเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางโดยอาจเป็นทั้งรัฐหรือทั้งประเทศ
เครือข่ายนครหลวง
เป็นเครือข่ายสื่อสารครอบคลุมพื้นที่ในเขตเมืองและเขตชานเมือง
เครือข่ายเฉพาะที่
เป็นเครือข่ายขนาดเล็กใช่เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยอาจเป็นเพียงสำนักงานชั้นเดียว
อินเทอร์เน็ต
เป็นเครือข่ายที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน
อินทราเน็ต
เป็นเครือข่ายภายในที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานและมาตระฐานของอินเตอร์เน็ตและเวิลด์ไวเว็บ
เพื่อใช้งานเฉาพะภาในองค์กรแต่ละแห่ง
เอกซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีของอินทราเน็ต
ต่าเพิ่มการรักษาความปลอดภัยและควบคุมการเข้าถึง
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เครือข่ายควรมีเพื่อปกป้องข้อมูล คือ ไฟร์วอลล์
(firewalls) ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่าย
อุปกรณ์สื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- โมเด็ม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก
เป็นการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นดิจิทัล อุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทาง
- เคเบิลโมเด็ม เป็นโมเด็มใช้รับส่งข้อมูล เป็นเครือข่ายโทรทัศน์
โดยมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ตั้งแต่ 500กิโลบิทต่อวินาที
ซึ่งเร็วกว่าการใช้โมเด็มธรรมดา ISDN
- อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ
เป็นอุปกรณ์ใช้รวมส่งสัญญาณเพื่อให้เป็นสายข้อมูลเดียวกันและส่งผ่าน ไปได้
บนสายส่งเส้นเดียว
- แผ่นวงจรต่อประสานเครือข่าย เป็นแผ่นวงจร
ต่อขยายที่เสียบในช่องเสียบของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น
แผ่นวงจรนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Lan Adapter เนื่องจากใช้ในการรับข้อมูลคำสั่งและสารสนเทศต่างๆ
ความเอื้อประโยชน์ของเครือข่าย
- การใช้โปรแกรมและข้อมูลรวมกัน
ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้ซอฟแวร์ โปรแกรมและได้รับข้อมูล
เดียวกันได้โดยสะดวกรวดเร็ว
- การใช้บริภัณฑ์ร่วมกัน สถาบันและองค์กรในเครือข่าย
จนสามารถประหยัดงบประมาณในการซื้อปริมาณรอบข้างต่างๆ
- สะดวกในการสื่อสาร
ด้วยการใช้อีเมลช่วยในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเป็นไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว
ไม่เสียเวลาและค่าน้ำมันในการเดินทาง ไม่ต้องเสียค่าไปรษณียากร
และช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากรโลก
- การเข้าถึงฐานข้อมูล
สถาบันและหน่วยงานต่างๆจะมีฐานข้อมูลของแต่ละแหล่งเก็บบันทึกไว้เพื่อสามารถเรียกค้น
และใช้งานด้วยความรวดเร็ว
เครือข่ายเฉพาะที่ …
ด้วยความเอื้อประโยชน์หลายประการในการทำงานของเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายเฉพาะที่
ซึ่งเรียกสั้นๆว่า “แลน” (Lan) โดยเครือข่ายระบบแลน
จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นรูปทรงเลขาคณิต 3 ลักษณะได้แก่ เครือข่ายแบบดาว แบบลัด
และแบบวงแหวน
เครือข่ายแบบดาว
เครือข่ายแบบดาว
เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆเชื่อต่อกับเครื่องบริการกางและมีการจัดลักษณะทางกายภาพคล้ายดาว
โดยข้อมูลในเครือข่ายจะส่งผ่านฮับศูนย์กลางไปยังจุดหมายปลายทาง
เครือข่ายแบบลัด
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่ายจะเชื่อต่อทั้งหมดกับสายบัส
ซึ่งเป็นสายเคเบิลเดี่ยวส่วนกลางเพียงเส้นเดียว
อุปกณ์สื่อสารแต่ละเครื่องจะสื่อสารถึงอุปกณ์อื่นได้โดยตรงผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคเบิลนี้ซึ่งทำการส่งผ่านข้อมูลคำสั่งเครื่องและส่งผ่านข้อมูลต่างๆโดยไม่มีเครื่องบริการกลาง
เครือข่ายแบบวงแหวน
เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นเครือข่ายแบบกระจายออกจากจุดศูนย์กลาง
โดยที่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สท่อสารทั้งหมด จะเชื่อต่อกันโดยสายเคเบิล
วงจรปิดโดยอาจจะมีหรือไม่มีในเครื่องบริการกลางก็ได้
การเชื่อมต่อเครือข่ายเฉพาะที่
- ระบบเชื่อมต่อหรือเคเบิล
การเชื่อต่อเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นในระบบแบบแลน หรือ ระบบใดก็ตาม
สามรถใช้ได้ในระบบเชื่อมต่อ แบบใช้ตัวการสื่อสัญญาณทางกายภาพหรือแบบ
ตัวกลางสื่อสัญญาณ์ไร้สาย
- ไมโครคอมพิวเตอร์ พร้อมแผนวงจรต่อประสาทเครือข่าย
การใช้เครือข่ายจะต้องประกอบด้วยคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2
เครื่องเชื่มต่อกันโดยแต่ละเครื่องจะมีวงจรต่อประสาทเครือข่ายอยู่ด้วย (Network interface cards)อยู่ด้วย
- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
เป็นซอฟแวร์ระบบเพื่อช่วยจัดการกิจการต่างๆบนเครือข่ายระบบนี้
ระบบนี้จะระบุตัวตนผุ้ใช้ด้วยรหัสผ่าน
และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้พร้อมกัน
- เครื่องบริการแบบไฟล์
เป็นแม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์หลักในระบบเครือข่ายสื่อสาร
หรือในระบบที่มีผู้ใช้หลายคน ทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารและเป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูล
- สถานีงาน
เป็นสถานีลูกข่ายในแต่ละหน่วยงานที่รวบรวมส่งข้อมูลในระบบแลน
โดยมีไมโครคอมพิวเตอร์ใช้อยู่ในหน่วยงานอย่างน้อย 1 เครื่อง
ตัวเชื่อต่อเครือข่าย โดยทั่วไปในแต่ละหน่วยงานอาจจะมีเครือข่าย เช่น
ระบบ แลนใช้อยู่เพียงระบบเดียวแต่เพื่อความคล่องตัวในการทำงานในปัจจุบัน
มีการเชื่อต่อแบบแลนกับเครือข่ายอื่น
ทั้งภายในสถาบันเดียวกันและกับเครือข่ายอื่นรอบโลกในลักษณะอินเตอร์เน็ต
เราเทอร์
หรืออุปกรณ์จัดเส้นทางเป็นอุปกรณ์ที่นำทางข้อมูลสื่อสารเมื่อมีการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายแหล่งเข้าด้วยกัน
ถึงแม้จะเป็นเครือข่ายที่ใช้เกณฑ์ วิธี(Protocol)ส่งผ่านที่แตกต่างกันก็ตาม
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อต่อเครือข่ายแลน 2
แหล่งที่ใช้กเกณฑวิธีส่งผ่านดียวกันเข้าด้วยกัน
เกตเวย์
เป็นการรวมฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่เชื่อต่อเครือข่ายใช้เกณฑ์วิธีส่งผ่านแตกต่างกัน
ให้สามารถทำงานร่วมกันได้
ฮับ หรือเรียกอีก 2 ชื่อว่าตัวรวมช่องสัญญาณและหน่วยเข้าถึงหลายสถานี
เป็นอุปกรณ์ในลักษณะจุดศูนย์รวมสำหรับสายเคเบิลในเครือข่าย
เครื่องทวนสัญญาณ
เป็นอุปกรณ์ในการรับสัญญาณจากสื่อที่ส่งผ่านข้อมูลเพทื่อนำมาขยายและกำลังและส่งต่อไป
บริภัณฑ์รอบข้าง ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์เช่น
เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ
อุปกรณ์เก็บบันทึกสำรองซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้งานร่วมกันในเครือข่าย
เทคโนโลยีการสื่อสารและการสื่อสารโทรคมนาคม
ด้วยการพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ปัจจุบันก้าวไปสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือเรียกอย่างย่อว่า
“ยุคไอซีที” จึงทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญยิ่งในเทคโนโลยีการศึกษาเนื่องจากความเอื้อประโยชน์หลายประการ
ตัวอย่างเช่น
1. การเปลี่ยนการสอนของครุผู้สอน
2. การเปลี่ยนวิธีการเรียนของผู้เรียน
3. การเรียนอย่างกระตือรึอร้น
4. วิธีการส่งบทเรียน
5. เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน
6. เป็นแหล่งข้อมูลอันกวางขวาง
7. สะดวกในการบริหารจัดการ
สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional
Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format)แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน
ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร
เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์
เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ
(Material s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน
เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า
วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio
visual Material s ) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ
(หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication
Process)
กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models)
รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว
กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก
และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน
ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ
ดังกล่าวได้
ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรม
จำแนกและการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้
ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู
ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับตัวผู้เรียน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน
พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
1.
การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist
Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ
เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ
เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation)
สิ่งต่างๆ
ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก
ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept)
ในเรื่องนั้นๆ
กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้าด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ
และทฤษฎีต่างๆ
ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ
ต่อไป
Schemata (Schema)
Assimilation
Accommodation
2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม
เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4
ประการ คือ
1. แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน
ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
2. สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน
(สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
3. การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ
กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
สื่อการสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้
ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม
ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม
(Cognitivist) ที่เชื่อว่า
การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์)
มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล
แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป
ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ
ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้
แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ
ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ
เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น
การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ
การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด
และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความรู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยาสังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอน
นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น
การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น
บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า
ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า
การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
(Competitive Learning
เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
เทคโนโลยี (Technology) คำว่า
เทคโนโลยี อาจให้ความหมายได้ 3 ทัศนะ ดังนี้
1)
เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (Technology as a
P recess) หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ
ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีระบบ
2) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นผลผลิต
(Technology as P redact) หมายถึง เครื่องมือ (Hardware) และวัสดุ (Software) อันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
ฟิล์มภาพยนตร์เป็นวัสดุ เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องมือ
และต่างก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยี
3) เทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นทั้งกระบวนการและผลิตผล
(Technology as a Mix of Process and Product) เป็นการกล่าวถึง
เทคโนโลยีในแง่ (1) การใช้วิธีการ และเครื่องมือหรือวัสดุร่วมกันในเวลาเดียวกัน
(2) การใช้เครื่องมือและวิธีการแยกจากกันในเวลาเดียวกัน เช่น เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์
เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กับวัสดุ (Software หรือ Program) อย่างสัมพันธ์กัน
การนำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน
ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน
ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม
การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร
เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ (Technology as a
P recess) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ
ทางการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีเทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ
มาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ดังนั้น เทคโนโลยีการสอน
จึงหมายถึงการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ
ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น
เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถจัดความรู้
ทักษะ และเจตคติหรือการเรียนรู้ทั้งหลายให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ
หรือที่เรียกว่า นวกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Based Instruction : CB) การสอนโดยใช้ระบบเสียง
(Audio-tutorial Systems) การสอนแบบโมดุล (Modular
Instruction) เกมและสถานการณ์จำลอง (Game and
Simulation) เป็นต้น เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม (Miltie media) แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ
ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน
จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสำคัญ
บทเรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีการสอน
บทเรียนโปรแกรมยึดหลักการเรียนรู้ของมนุษย์
โดยเฉพาะทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งสกินเนอร์ (B. F. Skinner) ได้พัฒนาบทเรียนโปรแกรมขึ้นมา โดยจัดบทเรียนเป็นขั้นตอนสั้นๆ
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับทุกขั้นตอนการเรียนและได้รับการเสริมแรง
เมื่อตอบสนองถูกต้อง การเสริมแรงและข้อมูลย้อนกลับเป็นผลแห่งความรู้ (Knowledge of Results) หรือเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาในตัวผู้เรียนนั่นเอง
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน
สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู
การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด
โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน
การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถของครู
ดังนั้น ถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน
ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร
ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้
เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ
โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา
การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม ตลอดจนการฝึกปฏิบัติอื่นๆ และการทำแบบฝึกหัดหรือการค้นคว้าด้วยตนเอง
เป็นต้น
3. ช่วยการเรียนแบบค้นพบ
สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดี เช่น การใช้วิดีโอช่วยสอนวิทยา
ศาสตร์กายภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการต่างๆ
ได้
4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน
สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ดังนั้น สื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้
มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ
จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน
ปัญหาและสื่อต่างๆ ที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้นๆ เช่น 1)
การสอนแบบเอกัตบุคคล 2) การสอนแบบกลุ่มเล็ก 3) การสอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด
ครูก็สามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีเข้าช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นครูยังสามารถกำหนดเวลาและกิจกรรมการเรียนได้อย่างเหมาะสม
ตามลักษณะของสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นๆ
5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล
การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน
การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง
หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู
โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6. ช่วยการศึกษาพิเศษ
สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี
เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ
นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น
มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ
ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร ระบบการเรียนการสอน
ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม
ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ
เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
โครงสร้างของระบบ
ทรัพยากร ขบวนการ ผลที่ได้รับ
(In put) (Process) (Out
put)
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องมีความสัมพันธ์กัน
จึงจะทำให้ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ
จะต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ที่ได้จากการประเมินผล
เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องทั้งสามส่วน